วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เที่ยววัดเก่าของลาว วัดสีสะเกด


รูปถ่ายเก่าวัดสีสะเกด


ก่อนเข้าวัดต้องผ่านทางนี้ก่อนครับ

วัดสีสะเกด (Wat Sisaket) หรือวัดสะตะสะหัสสาราม (วัดแสน)  เป็นวัดที่สร้างขึ้นแห่งแรกในนครเวียงจันทน์  วัดนี้สวยมากๆ ครับเข้าไปแล้วทำให้รู้สึกว่าตัวเองต้องเงียบโดยทันที คำว่าสตสหัสส  แปลว่า 100,000,  อาราม แปลว่า วัด,  วัดสตสหัสสาราม จึงแปลว่า วัดแสน  ในอดีตเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ลาว)   ศักดิ์ของวัดนี้เทียบเท่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ ท่าเตียน ของไทย)  เหตุที่ชื่อวัดแสนก็เพราะว่า  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพุทธศาสนิกชนชาวลาวในอดีต  ทรงสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์เล็กและองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ทั่ววัด 100,000 องค์  ดังนั้นจึงมีชื่อเล่นว่าวัดแสน  แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 10,000 กว่าองค์เท่านั้น  ไกด์บางคนบอกว่ามี 6,000 กว่าองค์  แต่ถึงอย่างไรก็ตาม  วัดนี้ก็มียังมีพระพุทธรูปมากที่สุดในนครหลวงเวียงจันทน์


ทางเข้าวัดสีสะเกด

ป้ายเขียนว่า วัดสะตะสะหัสสาราม สีสะเกด

พระพุทธรูปเรียงรายสวยงาม


พระประธานในสิม
เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กทำด้วยทองสำริด แต่เจ้าอนุวงศ์ได้ปฏิสังขรณ์ก่อครอบ ด้วยประทานเพชรฟอกด้วยน้ำปิว และให้พระประธานองค์ใหญ่หันหน้าไปทางด้านเหนือ เพื่อความ สะดวกสบายในไปกราบไหว้สักการะบูชา

ราวเทียน ในสิมราวเทียนในสิม มีความสูงประมาณ 1.88 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ซึ่งเป็นศิลปผสมระหว่างล้านช้างกับล้านนา ทำด้วยไม้เนื้อดีและแกะสลักเป็นรูปพญานาค สองตนเอาหางพันกัน เป็นรูปสวยงามซึ่งหมายถึง ความสามัคคี
ระหว่างล้านช้างและล้านนา ที่พิเศษคือฟอกด้วยน้ำทองคำปิว สร้างในสมัยเดียวกันกับ วัดสิสะเกด
ศตวรรษที่ 19


หอพระไตรปิฎก
สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก และตำราคัมภีร์ เอการทางพระพุทธศาสนา ถึงแม้วัดสีสะเกดจะไม่ถูกเผาทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ แต่ก็ถูกปล้นสะดมจี้เอาพระไตรปิฎกไปจนหมดเกลี้ยง ปัจจุบันมีเพียงหอพระไตรที่แสดงไว้ให้แขกต่างด้าวท้าวต่างเมืองมาเที่ยวชม ส่วนของหลังคาหอพระไตรปิฎกจะมีความคล้ายคลึงศิลปะของพม่าเพราะในสมัยนั้น อาจได้รับอิทธิพลจากพม่า นอกจากนี้ยังมีแผ่นศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวประวัติของวัดสีสะเกดอีกด้วย
ในสมัยก่อนวัดสิสะเกดมีอาณาเขตกว้างขวางมากมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1963 ได้ตัดเส้นทางใหม่ คือถนนเชษฐาธิราช ส่วนประตูโขงด้านหน้าติดกับหอคำ หรือสำนักงานประธานประเทศในปัจจุบัน



        ใน พ.ศ. 2321  เจ้าพระยาจักรี (ร.๑)  ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ยกทัพไปทวงถามเครื่องบรรณาการจากลาว  ลาวไม่ให้จึงสู้รบกัน  ลาวรบแพ้เพราะไม่เจนศึกเท่าทหารสยาม  ในฐานะที่เจ้าพระยาจักรีเป็นนักรบผู้ทรงธรรมและเคยบวชเรียนหลายพรรษา  เมื่อชนะศึกแล้วจึงนำพาทหารสยามบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ก่อนเดินทางกลับประเทศใน พ.ศ.2322  เพื่อเป็นพุทธบูชาอุทิศส่วนกุศลให้ทหารทั้ง 2 ประเทศที่เสียชีวิต  เนื่องจากรบกันโดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน  สถาปัตยกรรมวัดนี้เกือบทั้งหมดจึงเป็นสถาปัตยกรรมไทย  


      เมื่อเจ้าอนุวงศ์ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ลาวเมื่อ พ.ศ. 2348  ก่อนหน้านั้นพระองค์เคยเสด็จมาช่วยไทยรบกับพม่า 2 ครั้ง  ก็ได้โปรดให้บูรณะและสร้างวัดนี้ต่อด้วยสถาปัตยกรรมไทย  วัดนี้จึงเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของทหารและชาวพุทธสองประเทศมาแต่โบราณ  เพราะเป็นวัดที่ทหารของทั้งสองประเทศช่วยกันบูรณะ  


     
พ.ศ. 2369 เกิดกรณีพิพาทสยาม – ลาว (ไทยเรียกเหตุการณ์นี้ว่ากบถเจ้าอนุวงศ์)  ศึกครั้งนั้นไทยแทนแค้นลาวมาก  จึงทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยการเผาเกือบหมด  ยกเว้นวัดนี้กับหอพระแก้ว  เพราะเป็นวัดที่ตนพักทัพ ตามธรรมเนียมแต่โบราณ  พวกทหารพุทธเมื่อตั้งทัพที่ไหนจะไม่ทำลายที่นั่น 

     พ.ศ. 2370 ก่อนกองทัพสยามเดินทางกลับประเทศ  ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและฌาปนกิจศพทหารที่เสียชีวิตที่วัดแห่งนี้           


     จากเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์นี่แหละ  ชาวลาวรุ่นใหม่ที่เรียนมาถึงประวัติศาสตร์ตอนนี้จึงแค้นไทยไม่หาย  เมื่อไทยพูดว่า “บ้านพี่ – เมืองน้อง” ลาวรุ่นใหม่จึงไม่ยอมรับไทยเป็นญาติ  เขามักจะถามกลับว่า     “ใครเป็นพี่ – ใครเป็นน้อง”       ไทยบางคน  เกลียดพม่าไม่หายในเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง อย่างไร     
ลาวบางคน  ก็แค้นไทยไม่เลิกในเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์ อย่างนั้น

ทางเดินข้างอุโบสถ

     ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีส่วนที่เป็นพื้นดินสำหรับภิกษุจำพรรษานิดหน่อย  ที่ดินส่วนใหญ่ถูกตัดแบ่งไปเป็นส่วนราชการหมด  แม้แต่ส่วนที่เป็นพระอุโบสถวัดสีสะเกด กระทรวงวัฒนธรรมก็มาดูแล  หอพระแก้วที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวัด ทางการก็มาดูแลแทนวัดเช่นกัน มีถนนไชยเชษฐาตัดผ่าน ทำให้หอพระแก้วและวัดต้องอยู่แยกกันโดยปริยาย

     
วิญญาณทหารสยามที่สถิตอยู่ในวัดนี้จึงอาภัพเพราะไม่มีใครไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้  ชาวลาวก็ไม่ทำบุญกรวดน้ำให้  เพราะยังไม่หายแค้น  ทำบุญจากประเทศไทยไปให้ก็ไม่ค่อยจะถึง  เพราะอยู่ไกลและวิบากกรรมก็ยังไม่สิ้น  (ซวยสองต่อ)  หากอยากทำบุญให้  ต้องไปทำที่เวียงจันทน์เท่านั้น 

เก็บมาฝากครับ

สถานที่ท่องเที่ยว แขวงเวียงจันทน์ 
- แขวงเวียงจัน
- พระธาตุหลวง
- วัดสีเมือง เสาหลักเมืองเวียงจัน
- วัดสีสะเกด
- หอพระแก้ว หรือวัดพระแก้วลาว
- อนุสาวรีย์เจ้าฟ้างุม
- ประตูชัย
- พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลาว
- หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว
- ถนนคนเดินเวียงจัน
- ตลาดเช้า
- ดิวตี้ฟรี (Duty free) สินค้าปลอดภาษี บริเวณด่านลาวไทย
- บ้านผาฮอม
- ถ้ำจัง
- เมืองวังเวียง
- ผาตั้ง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น