วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชมอนุสาวรีย์ พระเจ้าอนุวงศ์


ชมอนุสาวรีย์ พระเจ้าอนุวงศ์ (เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์) เดินทางมาถึงเมืองเวียงจันทร์แล้ว ตอนเย็นๆ แนะนำให้มาผักผ่อนหย่อนใจกันที่สวนสาธารณะ ริมแม่น้ำโขง มีสนามหญ้าเขียวๆ ชาวลาวจำนวนไม่น้อยต่างพากันมาเดินเล่น  มาวิ่งออกกำลังกาย รวมทั่งเครื่องออกกำลังกายหลายชนิดที่วางเรียงรายให้ได้เล่นกันมากมาย นอกจากนั้นแล้วยังมีของอร่อยๆ ที่แม่ค้าลาวเข็นของมาขายกันเพียบ

ริมโขงเวียงจันทร์

ถ่ายภาพที่ระลึก

นักท่องเที่ยวมากมายบริเวณริมโขง

 อนุสาวรีย์พระเจ้าอนุวงศ์

สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อมาถึงริมแม่น้ำโขงนี้แล้วนอกจากที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น เพื่อนๆ จะได้เห็นอนุสาวรีย์พระเจ้าอนุวงศ์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมน้ำโขง นักท่องเที่ยวมากมายมากราบไว้ถ่ายรูปเพื่อเป็นศิริมงคล

ภาพถ่ายจริงพระเจ้าอนุวงศ์

อนุสาวรีย์ พระเจ้าอนุวงศ์ มีความสูง 17 เมตร (รวมฐานและแท่นยืนด้วย) ซึ่งถือว่าเป็นอนุสาวรีย์ของอดีตเจ้ามหาชีวิตลาวที่สูงที่สุดและใช้ทองแดงเฉพาะการหล่อรูปปั้นของเจ้าอนุวงศ์คิดเป็นน้ำหนักรวมถึง 8 ตัน เพื่อให้ประดิษฐานที่สวนสาธารณะริมฝั่งโขงที่อยู่ตรงข้ามกับฝั่งอำเภอศรีเชียงใหม่ในเขตจังหวัดหนองคายของไทยพอดี

ทางการลาวภายใต้การนำพาของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวนั้นได้ให้ความสำคัญกับเจ้ามหาชีวิตพระองค์นี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า เจ้าฟ้างุ้ม เจ้ามหาชีวิตผู้สถาปนาอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางขึ้นในปี พ.ศ. 1900 และ เจ้าไชยเชษฐาธิราช เจ้ามหาชีวิตผู้สถาปนาเวียงจันทน์เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างแทนหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2103 แต่อย่างใดเลย

ทั้งนี้โดยถึงแม้ว่าพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จะได้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์และระบบศักดินาในลาวนับตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมาแล้วก็ตามแต่ก็หาได้เป็นปัญหาอย่างใดไม่ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าวีรกรรมของเจ้าอนุวงศ์ ที่พรรคฯลาวได้เชิดชูขึ้นมาเป็นธงนำในการก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ในครั้งนี้ ก็คือการเป็นเจ้ามหาชีวิตที่ได้กระทำในทุกวิถีทางเพื่อประกาศอิสรภาพและความเป็นเอกราชของชาติลาว ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการต่อสู้และการนำพาของพรรคฯลาวนั่นเอง

อนุสาวรีย์พระเจ้าอนุวงศ์

กล่าวสำหรับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ภายหลังจากที่ได้ประกาศเอกราชจากพม่าในปี พ.ศ.2146 ในรัชสมัยของพระวรวงศาธรรมิกราช ซึ่งก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างไม่มีศึกสงครามและการรุกรานจากภายนอกนับเป็นเวลากว่า 100 ปีจนกระทั่งตกมาถึงปี พ.ศ.2250 และปี พ.ศ.2256 อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและจำปาสักก็ได้ประกาศแยกตัวออกจากราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ตามลำดับ โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างพี่น้องในราชวงศ์

ซึ่งด้วยความแตกแยกภายในดังกล่าวก็ได้ทำให้อาณาจักรล้านช้างทั้งสาม ต้องตกไปเป็นประเทศราชของสยามอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2322 อันเป็นที่มาของการกวาดต้อนคนลาวครั้งใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้านันทเสน (พ.ศ.2324-2337) นั้น นับเป็นช่วงที่คนลาวถูกสยามกวาดต้อนไปเป็นแรงงานขุดคลองในบางกอกมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรล้านช้างจะตกเป็นประเทศราชของสยาม แต่ว่าในส่วนของนครเวียง จันทน์นั้นก็ได้รับการทำนุบำรุงในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ เจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2346-2370) นั้น พระองค์ได้ทรงพยายามทำนุบำรุงนครเวียงจันทน์อย่างต่อเนื่อง เช่น โปรดให้สร้างพระราชวังหอโรง วัดศรีบุญเรืองที่หนองคาย หอพระแก้ววัดช้างเผือกที่ศรีเชียงใหม่ สะพานข้ามแม่น้ำโขงจากวัดช้างเผือกมาที่นครเวียงจันทน์ และ วัดสตหัสสาราม (วัดแสนหรือวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสันนิษฐานกันว่ามีวรรณกรรมสองเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชสมัยเจ้าอนุวงศ์ก็คือสาส์นลึบบ่สูญ และวรรณกรรมร้อยแก้วเรื่องพระลักษณ์-พระราม

ครั้นเมื่อตกมาถึงปี พ.ศ.2370 พระเจ้าอนุวงศ์ ก็ทรงได้ประกาศกู้เอกราชจากสยาม ซึ่งก็ทำให้พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์นั้นเป็นกบฎ จึงให้ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ และก็ให้ควบคุมตัว เจ้าอนุวงศ์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาที่กรุงสยามในปี พ.ศ.2371 โดยเจ้าอนุวงศ์นั้นก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกันอันถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์อีกด้วย

ร้านขายของบริเวณอนุสาวรีย์พระเจ้าอนุวงศ์

  สถานที่ท่องเที่ยว แขวงเวียงจันทน์ - แขวงเวียงจัน
- พระธาตุหลวง
- วัดสีเมือง เสาหลักเมืองเวียงจัน
- วัดสีสะเกด
- หอพระแก้ว หรือวัดพระแก้วลาว
- อนุสาวรีย์เจ้าฟ้างุม
- ประตูชัย
- พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลาว
- หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว
- ถนนคนเดินเวียงจัน
- ตลาดเช้า
- ดิวตี้ฟรี (Duty free) สินค้าปลอดภาษี บริเวณด่านลาวไทย
- บ้านผาฮอม
- ถ้ำจัง
- เมืองวังเวียง
- ผาตั้ง


บริเวณรอบๆ อนุสาวรีย์พระเจ้าอนุวงศ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น